ตัวกรองผลการค้นหา
คนละไม้คนละมือ
หมายถึง(สำ) ต่างคนต่างช่วยกันทำ.
จับไม้จับมือ
หมายถึงก. จับมือจับแขนแสดงความสนิทสนม.
สะดึง
หมายถึงน. กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, กรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สำหรับขึงเปล มี ๔ ด้าน.
พลอง
หมายถึง[พฺลอง] น. เรียกไม้ใช้เป็นอาวุธยาวประมาณ ๔ ศอกว่า ไม้พลอง.
สวนป่า
หมายถึงน. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. (อ. forest garden); สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน.
ระนาด
หมายถึงน. เครื่องปี่พาทย์ชนิดตี ประกอบด้วยลูกระนาดทำด้วยไม้ร้อยเชือกหัวท้ายเข้าเป็นผืนใช้แขวนบนรางระนาด หรือทำด้วยเหล็กหรือทองเหลืองใช้วางเรียงบนรางระนาดมีไม้ประกับหัวท้าย ลูกระนาดเรียงขนาดสั้นยาวให้ลดหลั่นกันตามลำดับเสียง มีตั้งแต่ ๑๗-๒๑ ลูก มีไม้ตีคู่หนึ่ง เรียกว่า ไม้ตีระนาด, ลักษณนามว่า ราง.
ผ้าเกี้ยว
หมายถึงน. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสำหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์เป็นต้น, สมปัก ก็เรียก.
โปตถกะ
หมายถึง[โปดถะกะ] น. หนังสือที่เขียนหรือจาร, คัมภีร์หนังสือ, เล่มหนังสือ. (ป.).
ฝาสำหรวด
หมายถึงน. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้แผ่นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง.
ปกรณ์
หมายถึง[ปะกอน] น. คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ. (ป. ปกรณ; ส. ปฺรกรณ).
วิปัสสนาธุระ
หมายถึงน. การเรียนวิปัสสนา, คู่กับ คันถธุระ การเรียนคัมภีร์ปริยัติ. (ป. วิปสฺสนา + ธุร).
ฝาหอยโข่ง
หมายถึงน. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง.