ตัวกรองผลการค้นหา
โหลงโจ้ง
หมายถึง[โหฺลง-] (ปาก) ว. ลักษณะที่มีแต่นํ้าเป็นส่วนใหญ่ แทบไม่มีเนื้อเลย เช่น แกงมีแต่นํ้าโหลงโจ้ง.
กัณห,กัณห-
หมายถึง[กันหะ-] ว. ดำ, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.; ส. กฺฤษฺณ).
ตีเส้น
หมายถึงก. ทำให้เป็นแนวตรงด้วยไม้บรรทัดหรือด้ายชุบสีดำเป็นต้น.
นพคุณ
หมายถึง[นบพะ-] น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนดราคาตามคุณภาพของเนื้อ หนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้านํ้า, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ.
คล้ำ
หมายถึง[คฺลํ้า] ว. ค่อนข้างดำ, ไม่ผ่องใส, หม่นหมอง, เช่น ผิวคลํ้า หน้าคลํ้า.
ลงถม
หมายถึงก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ถมยา ก็เรียก.
ปื้อ
หมายถึงว. ดำมืด, มักใช้ประกอบคำ ปึ้ด เป็น ปึ้ดปื้อ.
รูปพรรณสัณฐาน
หมายถึงน. รูปร่างลักษณะ เช่น เขามีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว.
หย็อง
หมายถึงก. ทำให้เป็นฝอยฟู ๆ เช่น เอาเนื้อหมูไปหย็อง, เรียกเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ที่ทำให้เป็นฝอยฟู ๆ ว่า หมูหย็อง ไก่หย็อง.
หมึก
หมายถึงน. นํ้าที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดำจัด จึงใช้เปรียบกับของดำว่า ดำเป็นหมึก, น้ำหมึก ก็ว่า. (จ.); โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ขีดเขียนหรือพิมพ์หนังสือเป็นต้น เช่น หมึกแดง หมึกแห้ง หมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์ลายมือ.
แปลน
หมายถึง[แปฺลน] น. เรียกของที่มีเนื้อหรือเปลือกหุ้มไม่รอบ เช่น ทุเรียนแปลน คือ ทุเรียนมีเนื้อหุ้มไม่รอบเม็ด. ก. ปรากฏ, โผล่, ผุด, เช่น ทุเรียนเม็ดแปลน.
กัญญา
หมายถึง[กันยา] น. เรียกข้าวเหนียวดำพันธุ์หนึ่งที่เมล็ดดำเป็นมันว่า ข้าวกัญญา.