ค้นเจอ 689 รายการ

เข้าถ้ำ

หมายถึงน. ชื่อตะเข็บเย็บผ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเย็บซ่อนตะเข็บไว้ข้างใน.

บริขารโจล

หมายถึง[-โจน] (แบบ) น. ท่อนผ้าสำหรับใช้สอยเล็กน้อย, ใช้ว่า บริขารโจฬ ก็มี. (ป.).

ลายไม้

หมายถึงน. ลายอย่างลายไม้ของผ้าม่วงหรือแพรเกิดเพราะทออัดแน่น.

วัตถาภรณ์,วัตถาลังการ

หมายถึงน. เครื่องประดับคือผ้า. (ป. วตฺถ + อาภรณ, วตฺถ + อลงฺการ).

สาฎก

หมายถึง[สาดก] น. ผ้า. (ป. สาฏก; ส. ศาฏก).

จีวร,จีวร-

หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).

ขึงอูด

หมายถึงก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.

เครื่องราง

หมายถึงน. ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล.

ชายแครง

หมายถึงน. ผ้าห้อยทับหน้าขาทั้ง ๒ ข้าง (เครื่องแต่งกาย).

นิสีทน,นิสีทน-,นิสีทนะ

หมายถึง[นิสีทะนะ-] (แบบ) น. การนั่ง; ผ้ารองนั่งของภิกษุ. (ป.).

ยั่นตะนี

หมายถึงน. ผ้ามัสลินพิมพ์ดอก. (เทียบฮินดูสตานี jamdani).

สักหลาด

หมายถึง[สักกะหฺลาด] น. ผ้าทำด้วยขนสัตว์. (ฮินดูสตานี sakalet).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ