ค้นเจอ 336 รายการ

อาชญา

หมายถึง[อาดยา, อาดชะยา] น. อำนาจ; โทษ (มักใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชำระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชำระความแพ่ง; คำ อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คำ อาญา เป็นพื้น.

กฎมนเทียรบาล

หมายถึง(กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.

พงศาวดาร

หมายถึง[-วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.

ตงิด

หมายถึง[ตะหฺงิด] ว. เล็กน้อย, ทีละน้อย ๆ, (ใช้แก่อาการเกี่ยวกับความรู้สึก) เช่น โกรธตงิด ๆ หิวตงิด ๆ.

ธรรมศาสตร์

หมายถึง(โบ) น. ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป; คัมภีร์กฎหมายเก่าของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกำเนิดแห่งกฎหมาย, พระธรรมศาสตร์ ก็เรียก.

นิติวิทยาศาสตร์

หมายถึงน. วิชาที่ว่าด้วยการนำหลักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาทางกฎหมาย และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ. (อ. forensic science).

เศรษฐกิจ

หมายถึง[เสดถะกิด] น. งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน. (ส. เศฺรษฺ + กิจฺจ).

สถาปัตยกรรม

หมายถึง[สะถาปัดตะยะกำ] น. ศิลปะและวิทยาเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ. (ส. สฺถาปตฺย + กรฺมนฺ).

สารนิเทศ

หมายถึง[สาระนิเทด] น. การชี้แจงแนะนำเกี่ยวกับข่าวสารหรือข้อมูลต่าง ๆ. (ส. สาร + นิรฺเทศ; ป. สาร + นิทฺเทส).

อารัญญิก,อารัณยกะ,อารัณยกะ

หมายถึง[-รันยิก, -รันยะกะ] ว. เกี่ยวกับป่า, เกิดในป่า, มีในป่า. (ป. อารญฺก; ส. อารณฺยก).

จิตเวชศาสตร์

หมายถึง[จิดตะเวดชะ-] น. วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาการตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).

โรงพยาบาล

หมายถึงน. สถานที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย คือทั้งตรวจ รักษา และป้องกันโรคให้แก่ประชาชน และมีเตียงสำหรับรับคนไข้เข้าพักรักษาตัวด้วย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ