ค้นเจอ 394 รายการ

จระแคง

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู).

นิกขะ

หมายถึง(แบบ) น. ลิ่ม, แท่ง; ชื่อมาตรานํ้าหนักของเงินอินเดีย ๕ สุวัณณะ เป็น ๑ นิกขะ. (ป.).

สุจิตร

หมายถึง[-จิด] ว. หลายสี, หลายชั้นหลายเชิง; เด่น, ยิ่งใหญ่. (ส. สุ + จิตฺร).

ประณุท

หมายถึง[ปฺระนุด] ก. บรรเทา, ระงับ. (ส. ปฺรณุท; ป. ปนุท).

บทวลัญช์

หมายถึง[บดทะวะลัน] (แบบ) น. รอยเท้า. (ป. ปทวลญฺช).

เภริ,เภรี

หมายถึงน. กลอง เช่น อินทเภรี ชัยเภรี, บางทีใช้เป็น ไภรี หรือ ไภริน ก็มี. (ป.).

สมโมท

หมายถึง[-โมด] ก. ยินดี, ร่าเริง, พอใจ, สัมโมท ก็ว่า. (ป., ส. สมฺโมท).

เตียว

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ก. เที่ยว, เดิน, เช่น ธนาก็เต้าเตียวจร. (บุณโณวาท).

กรุง

หมายถึง[กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).

กระเกรียว

หมายถึง(โบ; กลอน) ว. เสียงดังเกรียว ๆ เช่น ก็ร้องกระเกรียวเฉียวฉาว. (สุธน).

คิง

หมายถึง(ถิ่น) น. ร่างกาย เช่น รทวยรแถ้ง คิงคมกล้องแกล้ง. (สุธนู).

ธนัชฌ์

หมายถึงมาจาก ธนะ สนธิ กับ อัชฌ เป็น ธนัชฌ [ธนัชฌ์] แปลว่า มีนิสัยด้านการเงินดี รู้จักใช้จ่าย

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ