ค้นเจอ 247 รายการ

ชว,ชว-

หมายถึง[ชะวะ-] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.

พงศาวดาร

หมายถึง[-วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.

เสาว,เสาว-

หมายถึง[-วะ-] ว. ดี, งาม. (แผลงมาจาก สว สุ โส เช่น เสาวภาพ แผลงมาจาก สวภาพ, เสาวคนธ์ แผลงมาจาก สุคนธ์, เสาวภา แผลงมาจาก โสภา).

มนู

หมายถึงน. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกันเป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออกกฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คำ มนู จึงหมายถึงกฎหมายก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).

ภาวนา

หมายถึง[พาวะ-] น. การทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่งภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).

นะ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

น๊ะ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

สุว

หมายถึง[-วะ-] คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤตแปลว่า ดี, งาม, ง่าย, สำหรับเติมหน้าคำ เช่น สุวคนธ์. (ป., ส. สุ).

สุว-

หมายถึง[-วะ-] คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤตแปลว่า ดี, งาม, ง่าย, สำหรับเติมหน้าคำ เช่น สุวคนธ์. (ป., ส. สุ).

วต,วต-,วตะ

หมายถึง[วะตะ-] น. พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ; การจำศีล, การบำเพ็ญทางศาสนา, การปฏิบัติ; ประเพณี, ธรรมเนียม. (ป. วต; ส. วฺรต).

จีน

หมายถึงน. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับมองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ และคาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้.

พลว,พลว-

หมายถึง[พะละวะ-] ว. มีกำลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกำลังกล้า. (ป.).

นวอรหาทิคุณ,นวารหาทิคุณ

หมายถึง[นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ