ค้นเจอ 187 รายการ

เข้าเครื่อง

หมายถึงก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสำคัญ ๆ; คำพูดสำหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้าตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียงเข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.

คอ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ; ส่วนของภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ; เรียกส่วนลำต้นของพรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว คอตาล; โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอาจิณ เช่น คอเหล้า คอเบียร์ คอหนัง คอละคร

เบญจดุริยางค์

หมายถึงน. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้เล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขนชนิดหนึ่ง, อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทำจังหวะ ๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) ๑. (ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).

สุขนาฏกรรม

หมายถึง[สุกขะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.

ดู

หมายถึงก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทำนาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.

กลอน

หมายถึง[กฺลอน] น. คำประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคำเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตำรากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคำประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คำประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่า กลอน เป็นลำนำสำหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสำหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.

เครื่องห้า

หมายถึงน. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สำหรับการแสดงละครและหนังในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สำหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบด้วย เครื่องทำลำนำ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.

สารถีชักรถ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทย ๒ ชั้นทำนองหนึ่ง ต่อมามีผู้แต่งขยายเป็น ๓ ชั้น แล้วตัดลงเป็นชั้นเดียว เพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา เรียกว่า เพลงสารถีเถา; วิธีรำละครท่าหนึ่งอยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา.(ฟ้อน).; ชื่อเพลงยาวกลบทแบบหนึ่ง ตัวอย่างว่า สงสารกายหมายมิตร์คิดสงสาร ประมาณจิตร์ผิดเพราะเชื่อเหลือประมาณ เสียดายการที่คิดเปล่าเศร้าเสียดาย. (จารึกวัดโพธิ์).

โศกนาฏกรรม

หมายถึง[โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.

นาง

หมายถึงน. คำประกอบหน้าคำเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบำเรอ นางละคร นางพระกำนัล; คำแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คำนำหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คำนำหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราชทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมียโดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.

ศิลปะ,ศิลป-,ศิลป์,ศิลป์,ศิลปะ

หมายถึง[สินละปะ-, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).

เพลงหน้าพาทย์

หมายถึงน. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสำหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สำหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สำหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ