ตัวกรองผลการค้นหา
นิคหิต
หมายถึง[นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
นิคาลัย
หมายถึง(กลอน) ก. ตาย เช่น ทราบว่าพี่กับบิดานิคาลัย. (อภัย).
นิ่งเงียบ
หมายถึงว. นิ่งอยู่ไม่พูดอะไร.
นิจ
หมายถึงว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).
นิดเดียว
หมายถึงว. เล็กเหลือเกิน, น้อยเหลือเกิน.
นิดหนึ่ง
หมายถึงว. หน่อยหนึ่ง.
นิติกรณ์
หมายถึง(กฎ) น. การรับรองของเจ้าพนักงานว่าเป็นตราสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย. (อ. legalization).
นิติภาวะ
หมายถึง(กฎ) น. ความเป็นผู้มีความสามารถที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง.
นิติวิทยาศาสตร์
หมายถึงน. วิชาที่ว่าด้วยการนำหลักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาทางกฎหมาย และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ. (อ. forensic science).
นิทัศน์
หมายถึงน. ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์. (ส. นิทรฺศน; ป. นิทสฺสน).
นิบาต
หมายถึง[-บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๒ ข้อ; (ไว) ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความ ไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจเป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจากข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
นิพจน์
หมายถึง(คณิต) น. สัญลักษณ์ที่แทนหลาย ๆ พจน์บวกหรือลบกัน. (อ. expression).