ค้นเจอ 490 รายการ

ถือผิว

หมายถึงก. ถือว่าเป็นคนละเชื้อชาติ (โดยเฉพาะใช้แก่พวกผิวขาวที่มีความรู้สึกรังเกียจพวกผิวดำ).

หน้าคมขำ

หมายถึงน. ใบหน้าสวยซึ้งชวนพิศ คิ้วดกดำ ตาคม (ใช้แก่ผู้หญิงผิวคล้ำหรือดำแดง).

โซ่ง

หมายถึงน. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่าเล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดำหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็นทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดำ หรือ ไทยดำ ก็เรียก.

แก้มช้ำ

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.

มุด

หมายถึงก. เอาหัวลอดเข้าไป เช่น มุดรั้ว มุดใต้ถุน, เอาหัวดำลงในนํ้า ในคำว่า มุดนํ้า.

แขนทุกข์

หมายถึงน. ปลอกแขนสีดำสำหรับสวมติดแขนเสื้อข้างซ้ายเป็นการแสดงความไว้อาลัยต่อคนตาย.

ชะนี

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่ม เดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดำและนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีเทา, ชะนีมือดำ (H. agilis) สีดำ นํ้าตาล และเทา.

กะเลียว

หมายถึงน. สีของม้าชนิดหนึ่ง ลักษณะเขียวอมดำ, เรียกม้าที่มีสีเช่นนั้นว่า ม้ากะเลียว หรือ ม้าสีกะเลียว.

ไม้ดำ

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros brandisiana Kurz ในวงศ์ Ebenaceae เนื้อไม้แข็ง สีดำ ใช้ทำเครื่องเรือน.

โพรโทแอกทิเนียม

หมายถึง[โพฺร-] น. ธาตุลำดับที่ ๙๑ สัญลักษณ์ Pa เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาอ่อน หลอมละลายที่ ๑๒๓๐ °ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี, โพรแทกทิเนียม ก็เรียก. (อ. protoactinium, protactinium).

ดิน

หมายถึงน. ชื่องูในวงศ์ Typhlopidae ขนาดเล็กมากประมาณเท่าไส้ดินสอดำ ตัวสีดำหรือนํ้าตาลเข้มเกล็ดเรียบเป็นมัน อาศัยตามดินร่วนที่มีความชื้น ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งูดินโคราช (Typhlops khoratensis) งูดินตรัง (T. trangensis).

กระสูบ

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มชํ้า แต่ลำตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดำ ขนาดยาวถึงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดำ ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ