ค้นเจอ 390 รายการ

อาหม

หมายถึง[-หมฺ] น. ชนชาติไทยใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อะหม ก็ว่า.

แต้จิ๋ว

หมายถึงน. จีนชาวเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน, เรียกภาษาของจีนชาวนี้ว่า ภาษาแต้จิ๋ว.

นักเทศ

หมายถึงน. คนต่างประเทศที่สำหรับใช้ในราชสำนัก เช่น นักเทศจงไปสั่งการ พนักงานของใครให้ขวายขวน. (สังข์ทอง).

รัตนบัลลังก์

หมายถึงน. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า.

สถาน,สถาน-,สถาน-,สถานะ

หมายถึง[สะถานะ-] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, เช่น เขาอยู่ในสถานะยากไร้ เศรษฐกิจของประเทศไทยมีสถานะมั่นคง น้ำมีสถานะปรกติเป็นของเหลว.

สรรพสามิต

หมายถึง[สับพะ-, สันพะ-] น. อากรที่เก็บจากสิ่งประดิษฐ์และผลิตขึ้นภายในประเทศ เรียกว่า อากรสรรพสามิต.

อาณาจักร

หมายถึงน. เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศหนึ่ง ๆ; อำนาจปกครองทางบ้านเมือง, คู่กับ ศาสนจักร ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองทางศาสนา.

กวางตุ้ง

หมายถึง[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง.

ราชสาส์น

หมายถึง[ราดชะสาน] น. จดหมายของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เรียกว่า พระราชสาส์น.

เครื่องเทศ

หมายถึงน. ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้มาจากพืช โดยมากมาจากต่างประเทศสำหรับใช้ทำยาไทยและปรุงอาหาร เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า.

ทวิภาคี

หมายถึง(การทูต) ว. สองฝ่าย. น. เรียกสัญญาระหว่างประเทศที่มีคู่สัญญา ๒ ฝ่ายว่า สัญญาทวิภาคี (bilateral treaty).

วัสสานฤดู

หมายถึง[วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ