ค้นเจอ 420 รายการ

ท้องขาว

หมายถึงน. เรียกผ้าที่มีส่วนกลางขาวว่า ผ้าท้องขาว เช่น ผ้าท้องขาวเชิงชายเขียน. (พงศ. เลขา), ถ้ามีส่วนกลางเขียว เรียกว่า ผ้าท้องเขียว เช่น ผ้าท้องเขียวชายกรวย. (พงศ. เลขา).

ปัถวี

หมายถึง[ปัดถะ-] น. ท้ายเรือพิธี เช่น หางตาเรือก็กลับไปข้างปัถวี. (พงศ. เลขา).

แสม

หมายถึง[สะแหฺม] น. ชื่อปูหลายชนิดในสกุล Neoepisesarma วงศ์ Grapsidae อยู่ตามป่าแสม.

ระหง

หมายถึงว. สูงโปร่ง เช่น ป่าระหง, สูงสะโอดสะอง เช่น รูปร่างระหง คอระหง.

โขยม

หมายถึง[ขะโหฺยม] (โบ) น. ขยม, ข้า, บ่าว, เช่น ไว้โขยมวัดสามครัว. (พงศ. โยนก). (ข. ขฺญฺ ํ).

ขวง

หมายถึงน. ข่วง, บริเวณ, ลาน, เช่น ให้ยกหอกลองยังขวงหลวงริมสนาม. (พงศ. โยนก).

ตีบ

หมายถึงน. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี.

ไม้ญี่ปุ่น

หมายถึงน. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นย่อมาจากธรรมชาติของต้นไม้ในป่าไม่มีการแต่งช่อหรือพุ่มใบ.

สมุน

หมายถึง[สะหฺมุน] น. หมอทำพิธีเบิกไพรเพื่อป้องกันภัยในป่า.

กระจร

หมายถึง(กลอน) น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง. (พงศ. เหนือ). (แผลงมาจาก ขจร).

ผย่ำเผยอ

หมายถึง[ผะหฺยํ่าผะเหฺยอ] ก. ปํ้า ๆ เป๋อ ๆ เช่น ทำหาวเรอพูดผยํ่าเผยอ. (พงศ. เลขา).

มฤคทายวัน

หมายถึง[มะรึกคะทายะ-, มะรึกคะทายยะ-] น. ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา; ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ. (ป. มิคทายวน; ส. มฺฤค + ทาย + วน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ