ค้นเจอ 170 รายการ

ขา

หมายถึงน. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา.

ปากขอ

หมายถึงน. ชื่อพยาธิตัวกลมขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Ancylostomatidae มีส่วนหัวโค้งงอคล้ายตาขอ ในช่องปากมีฟันแหลมหรือเป็นแผ่นใช้เกาะเกี่ยวผนังลำไส้ อาศัยดูดกินเลือดมนุษย์และสัตว์ ขนาดเล็กที่สุดยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร เช่น ชนิด Necator americanus, Ancylostoma duodenale อยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์ ชนิด A. braziliense, A. ceylanicum อยู่ในลำไส้เล็กของสุนัขและแมว.

ตะพัก

หมายถึงน. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดินสูงขึ้นหรือต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตรก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเลเป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

รุ่น

หมายถึงน. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวยรุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็นระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.

โยม

หมายถึงน. คำที่พระสงฆ์ใช้เรียกบิดามารดาของตนหรือเรียกผู้ใหญ่รุ่นราวคราวเดียวกับบิดามารดา เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมย่า โยมยาย โยมน้า; เป็นคำใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระภิกษุสามเณร; เรียกผู้ที่เป็นบิดามารดาของพระว่า โยมพระ; เรียกผู้ที่แสดงตนเป็นผู้อุปการะพระภิกษุสามเณรโดยเจาะจงว่า โยมอุปัฏฐาก; เรียกฆราวาสที่อยู่ปฏิบัติรับใช้พระภิกษุสามเณรในวัดว่า โยมวัด; เรียกฆราวาสผู้อุปการะพระทั่ว ๆ ไป ว่า โยมสงฆ์.

สะบัด

หมายถึงก. เคลื่อนไหวหรือทำให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็นไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่งเช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้วเกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดยปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัด โกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.

เลีย

หมายถึงก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือดไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยาประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้งเลียขาเพื่อให้นายรัก.

แหนบ

หมายถึง[แหฺนบ] น. เครื่องสำหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สำหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืนเป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่างแหนบ, เอานิ้วมือบีบทำนองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัดไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมายความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).

มหาชัย

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธานในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศรัยจบลงก็บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดำเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลง จะใช้เพลงมหาชัยเป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสำนักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกำหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลงเป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ หรือนายกรัฐมนตรี.

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

ลูก

หมายถึงน. ผู้มีกำเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คำที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูดหลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คำที่ลูกใช้แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ง่วงนอน; เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา; เรียกสิ่งที่จะสืบเป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึงผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคำพยางค์เดียวอันอาจทำให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคำ ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด; เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดยอนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน; ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง ๕ ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ