ตัวกรองผลการค้นหา
ปักษกษัย
หมายถึง[ปักสะกะไส] น. การสิ้นปักษ์.
ปูชกะ
หมายถึง[-ชะกะ] น. ผู้บูชา. (ป., ส.).
ปัจเจก,ปัจเจก-
หมายถึง[ปัดเจก, ปัดเจกะ-, ปัดเจกกะ-] (แบบ) ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น ปัจเจกชน. (ป.).
ญาณ,ญาณ-
หมายถึง[ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกำหนดรู้ที่เกิดจากอำนาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ. (ป.; ส. ชฺาน).
กฏุก-
หมายถึง[กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
ขี่
หมายถึงก. นั่งเอาขาคร่อม, โดยปริยายหมายถึงนั่งไปในยานพาหนะ.
อายุกตกะ,อายุตกะ
หมายถึง[-ยุกตะกะ, -ยุดตะกะ] น. นายส่วย, เจ้าพนักงาน, เจ้าหน้าที่. (ส. อายุกฺตก; ป. อายุตฺตก).
วิจารณญาณ
หมายถึง[วิจาระนะยาน] น. ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้องได้.
ยั่ว
หมายถึง(โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคำ ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทำให้เกิดอารมณ์ในทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
เอกภาคี
หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] น. ฝ่ายเดียว หมายถึง ประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วมหรือรับรู้ด้วย.
กษัตรา
หมายถึง[กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือ พรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา).
ปัญจก,ปัญจกะ
หมายถึง[ปันจก, -จะกะ] (แบบ) น. เบญจก, หมวด ๕. (ป.).