ตัวกรองผลการค้นหา
ขย่ม
หมายถึง[ขะหฺย่ม] ก. ใช้นํ้าหนักตัวกดลง แล้วยกตัวขึ้นแล้วกลับกดลงอีกซ้ำ ๆ กัน, ห่ม ก็ว่า. (ดู ห่ม ๑).
อวดอ้าง
หมายถึงก. พูดแสดงสรรพคุณหรือคุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกินความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือที่บิดเบือนไปจากความจริงมาประกอบ.
เฮโลสาระพา,เฮละโลสาระพา
หมายถึงว. เสียงร้องพร้อม ๆ กันเพื่อบอกจังหวะให้ออกแรงพร้อมกันเมื่อเวลาลากหรือยกของหนักเป็นต้น, สาระพา หรือ สาระพาเฮโล ก็ว่า.
ประเท้า
หมายถึงก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที, เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
การเวก
หมายถึง[การะ-] น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป.
กลีบ
หมายถึง[กฺลีบ] น. ส่วนของดอกไม้ที่เรียงหรือซ้อนกันเป็นชั้น ๆ รอบเกสร โดยปรกติเป็นแผ่นบาง ๆ, ใช้เรียกของอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กลีบตา กลีบผ้า กลีบเมฆ.
เทครัว
หมายถึงก. ยกครอบครัวไป, กวาดครอบครัวไป; โดยปริยายเรียกชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้องว่า พระยาเทครัว.
ษมา
หมายถึง[สะมา] ก. กล่าวคำขอโทษ. น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด, ขมา ก็ว่า. (ส. กษมา; ป. ขมา).
อุปโลกน์
หมายถึง[อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นเป็น เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า, อปโลกน์ ก็ว่า. (ป. อปโลกน).
อปโลกน์,อปโลกน์,อุปโลกน์
หมายถึง[อะปะโหฺลก, อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า. (ป. อปโลกน).
กระเตื้อง
หมายถึงก. เบาขึ้น, ทุเลาขึ้น, เช่น อาการไข้กระเตื้องขึ้น, เจริญขึ้น เช่น เดี๋ยวนี้ฐานะเขาค่อยกระเตื้องขึ้น; (โบ) พยุงยกให้เผยอขึ้น.
ชัน
หมายถึงก. ยกตั้งตรง เช่น ชันขา ชันเข่า; ตั้งขึ้น เช่น ขนชัน หูชัน. ว. ตรงขึ้นไป, ไม่ลาด, เช่น ตลิ่งชัน.