ค้นเจอ 305 รายการ

ฮั้ว

หมายถึง(ปาก) ก. รวมหัวกัน, ร่วมกันกระทำการ, สมยอมกันในการเสนอราคาเพื่อมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม. (จ.).

จรส

หมายถึง[จะหฺรด] ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

ใจทมิฬ

หมายถึงว. มีใจดุร้าย, มีใจร้ายกาจ, บางทีก็ใช้คู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ.

กฏุก-

หมายถึง[กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).

เซียมซี

หมายถึงน. ใบทำนายโชคชะตาตามศาลเจ้าหรือวัด มีเลขหมายเทียบกับเลขหมายบนติ้วที่เสี่ยงได้. (จ.).

เอี้ยมจุ๊น

หมายถึงน. ชื่อเรือขนาดใหญ่ ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สำหรับขนถ่ายและบรรทุกสินค้า. (จ.).

ฮื่อฉี่

หมายถึงน. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้หูปลาฉลามตุ๋น. (จ. ฮื่อฉี่ ว่า ครีบปลา).

กระตุก

หมายถึงก. ชักเข้ามาโดยเร็วทันที, งอเข้ามาโดยเร็ว, เช่น ขากระตุก, อาการที่กล้ามเนื้อหดและยืดตัวขึ้นมาเองทันที.

ตาลุชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานแข็ง ได้แก่พยัญชนะวรรค จ คือ จ ฉ ช ฌ ญ และอักษร ย สระอิ อี รวมทั้ง ศ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ตาลวฺย).

เอี๊ยม

หมายถึงน. แผ่นผ้าสำหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ, เต่า ก็ว่า. (ดู เต่า ๒). (จ.).

เฉ่ง

หมายถึงก. ชำระเงินที่ได้เสียกัน, ชำระเงินที่ติดค้างกันอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ด่า ว่า หรือทำร้ายร่างกาย. (จ.).

ฐกัด

หมายถึง[ถะกัด] ก. ตระกัด, ยินดี, เช่น ฐกัดนี้แก่เถ้าตุ่ยต่วมฤๅจตรู. (ม. คำหลวง ชูชก).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ