ค้นเจอ 212 รายการ

โวย

หมายถึง(ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิดเดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวยเรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.

ค่าสินไหมทดแทน

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย เช่น ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้.

กระเหม่น

หมายถึง[-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).

ทัณฑ์บน

หมายถึงน. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทานบน ก็ว่า; (กฎ) คำรับรองที่ทำขึ้นตามคำสั่งของศาลว่าจะไม่ก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตลอดเวลาที่ศาลกำหนด.

จุกช่องล้อมวง

หมายถึง(โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาสหรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทาง เช่น ตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือ จัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).

บอก

หมายถึงก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนำ เช่น บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.

คอตีบ

หมายถึงน. ชื่อโรคติดต่ออันตรายชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด Corynebacterium diphtheriae อาจทำให้ทางเดินอากาศหายใจอุดตัน เป็นเหตุให้หายใจไม่สะดวก อาจถึงแก่ชีวิตได้ มักเกิดแก่เด็กเล็ก. (อ. diphtheria).

ประกันภัย

หมายถึง(กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีที่หากมีวินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันภัย ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญาประกันภัย ก็เรียก.

หาเรื่อง

หมายถึงก. ทำให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่องกันได้.

ปัจจัย

หมายถึงน. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ “ปัจจัย” กับ คำ “เหตุ” มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร); (ไว) ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดงความหมายเป็นต้น. (ป.).

ด่าน

หมายถึงน. ทางผ่าน เช่น ด่านช้าง, ทางผ่านพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านสิงขร; ที่สำหรับกัก ตรวจ คอยระวังเหตุ และป้องกันช่องทางที่จะผ่านเข้าออก เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร ด่านกักสัตว์.

ไดนาโม

หมายถึงน. เครื่องกลที่ใช้สำหรับเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการ คือ ให้ลวดตัวนำเคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็ก เป็นเหตุให้เกิดกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ในลวดตัวนำได้, ใช้ว่า ไดนะโม ก็มี. (อ. dynamo).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ