ค้นเจอ 276 รายการ

ภารต,ภารต-

หมายถึง[พารด, พาระตะ-] น. ชาวอินเดีย; คนแสดงละคร. (ส.).

นฤตย,นฤตย-,นฤตย์

หมายถึง[นะริดตะยะ-, นะริด] น. การระบำ, การฟ้อนรำ, การเต้นรำ. (ส.).

โผะ

หมายถึงว. เสียงที่หมอและควาญช้างร้องเมื่อทำพิธีบำรูงาช้าง เป็นการเยาะเย้ยเมื่อรำท่าต่าง ๆ แล้ว.

หงส์ลีลา

หมายถึง[หงลีลา] น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน).

ข้าวแดง,ข้าวเมล็ดแดง

หมายถึงน. เมล็ดข้าวที่มีปลอกรำสีแดงหุ้มอยู่ร้อยละ ๒๕ ของเนื้อที่เมล็ดข้าวหรือมากกว่า.

ปฐมทัศน์

หมายถึง[ปะถมมะ-] น. การแสดงครั้งแรก, เรียกการแสดงละครหรือการฉายภาพยนตร์รอบแรกว่า รอบปฐมทัศน์.

สีฝัด

หมายถึงน. ชื่อเครื่องฝัดข้าวโดยใช้หมุนกงพัดให้เกิดลมพัดแกลบและรำออกจากเมล็ดข้าว.

ช้า

หมายถึงน. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละครอื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.

พิลาส

หมายถึง[พิลาด] ก. กรีดกราย, เยื้องกราย; คะนอง; ฟ้อนรำ. ว. งามอย่างมีเสน่ห์, งามอย่างสดใส; สนุก. (ส. วิลาส).

บอกบท

หมายถึงก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือสั่งให้ทำสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.

นัฏ,นัฏกะ

หมายถึง[นัด, นัดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรำ. (ป., ส. นฏฺฏ, นฏฺฏก).

วาดลวดลาย

หมายถึงก. แสดงท่ารำหรือเต้นรำเป็นต้นได้งดงามไปตามจังหวะดนตรี; (ปาก) แสดงชั้นเชิง เช่น วาดลวดลายในการโฆษณา.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ