ค้นเจอ 227 รายการ

กระดุบ ๆ

หมายถึงว. อาการที่เต้นตุบ ๆ อย่างเนื้อเต้น, ดุบ ๆ ก็ว่า; อาการที่เคลื่อนที่ไปอย่างช้า ๆ เช่น เด็กคลานกระดุบ ๆ.

กระกร

หมายถึง(กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).

จาป

หมายถึง[จาบ, จาปะ] (แบบ) น. ธนู, ศร, หน้าไม้, เช่น ชักกุทัณฑกำซาบ ด้วยลูกจาปแล่นลิ่ว. (อนิรุทธ์). (ป., ส.).

ดูหมิ่น,ดูหมิ่น,ดูหมิ่นถิ่นแคลน

หมายถึงก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.

จัตุสดมภ์

หมายถึง[จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).

หมิ่น

หมายถึงก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่นถิ่นแคลน ก็ว่า.

รถคฤห

หมายถึง[รดคฺรึ] น. รถที่มีหลังคาทรงจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น บางทีก็เป็นจตุรมุข สำหรับชักศพเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าลงมา มีม้าลาก.

กุฏไต

หมายถึง(แบบ) น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น ห่มกุฏไตขอหง้า, โกตไต ก็ว่า เช่น ห่มโกตไตอวดอ้าง. (พยุหยาตรา). (เทียบอิหร่าน และ ตุรกี ว่า เสื้อกั๊กสำหรับทหาร).

จตุปัจจัย

หมายถึง[จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).

จาร,จาร-,จาร-

หมายถึง[จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).

เบื้อ

หมายถึงน. สัตว์ในนิยายเล่ากันว่ามีรูปร่างคล้ายคน แต่ไม่มีสะบ้าหัวเข่า พูดไม่ได้, โดยปริยายเรียกผู้ที่นิ่งเฉยไม่พูดไม่จาเหมือนตัวเบื้อว่า เป็นเบื้อ เช่น นั่งเป็นเบื้อ.

โลน

หมายถึงว. อาการที่แสดงกิริยาวาจาหยาบคายไปในทางลามก, มักใช้เข้าคู่กับคำ หยาบ เป็น หยาบโลน เช่น แสดงกิริยาโลน พูดจาหยาบโลน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ