ตัวกรองผลการค้นหา
อารทรา,อทระ
หมายถึง[อาระทฺรา, อะทฺระ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๖ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปฉัตร, ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา ก็เรียก.
อาร์ม
หมายถึง[อาม] น. เครื่องหมายมักเป็นรูปโล่ที่ภายในผูกเป็นลวดลาย ใช้เป็นสัญลักษณ์ของวงศ์ตระกูล สถาบันต่าง ๆ เป็นต้น, เรียกเต็มว่า ตราอาร์ม. (อ. arm).
อารย,อารย-,อารยะ
หมายถึง[อาระยะ-] ว. เจริญ. (ส.; ป. อริย).
อารักษ์
หมายถึงน. การป้องกัน, ความคุ้มครอง, ความดูแล; เทวดาผู้พิทักษ์รักษา, มักใช้ว่า เทพารักษ์ หรือ อารักษเทวดา. (ส.; ป. อารกฺข).
อาราธนาธรรม
หมายถึงก. ขอนิมนต์ให้พระภิกษุหรือสามเณรแสดงธรรม โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ สหมฺปติ ... เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ.
อารีอารอบ
หมายถึงว. มีใจเผื่อแผ่ทั่วไป.
อาลัย
หมายถึงก. ห่วงใย, พัวพัน, ระลึกถึงด้วยความเสียดาย. น. ความห่วงใย, ความพัวพัน, ความระลึกถึงด้วยความเสียดาย. (ป., ส. อาลย).
อาโลกนะ
หมายถึง[-โลกะนะ] น. การดู, การเห็น; การตรึกตรอง.
อาวัล
หมายถึง[-วัน] (กฎ) น. การรับประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน. (ฝ. aval).
อาวาสิก
หมายถึงน. ผู้ครอบครองอาวาส คือ พระสงฆ์. (ป.).
อาวุโส
หมายถึงว. ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส. น. ความมีอายุมากกว่าหรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง. (ป. อาวุโส เป็นคำ อาลปนะ คือ คำที่พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์, คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคำที่พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์).
อาศิร-,อาศิร- ,อาศิร-,อาเศียร,อาเศียร-
หมายถึง[อาสิระ-, -เสียนระ-] น. การอวยพร. (ส. อาศิสฺ คำนี้เมื่อนำหน้าอักษรตํ่าและตัว ห ต้องเปลี่ยน ส เป็น ร เป็น อาศิร และแผลงเป็น อาเศียร ก็มี; ป. อาสิ ว่า ความหวังดี).