ตัวกรองผลการค้นหา
คราง
หมายถึง[คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
ร้องโยนยาว
หมายถึงก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพายเรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
ปรั่น,ปรั้น
หมายถึง[ปฺรั่น, ปฺรั้น] ว. เสียงแปร้น เช่น ร้องก้องปรั่นประดิรพยทั่วแล. (ม. คำหลวง สักบรรพ).
รพ,รพะ,รพา
หมายถึง[รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
ส่งลำ
หมายถึงก. ร้องเพลงส่งให้ปี่พาทย์รับบรรเลงตามทำนองที่ร้อง (ใช้แก่การขับเสภาและสักวา); กระทำครั้งสุดท้าย เช่น เตะส่งลำ.
เฮโลสาระพา,เฮละโลสาระพา
หมายถึงว. เสียงร้องพร้อม ๆ กันเพื่อบอกจังหวะให้ออกแรงพร้อมกันเมื่อเวลาลากหรือยกของหนักเป็นต้น, สาระพา หรือ สาระพาเฮโล ก็ว่า.
ทรหู,ทรฮู
หมายถึง[ทอระ-] (กลอน) ก. ดิ้นรนอยากรู้, ร้องดัง, เช่น ในเมื่อกูไห้ทรหูรํ่าร้อง. (ม. คำหลวง ชูชก).
ใส่จริต
หมายถึงก. แสร้งทำกิริยาท่าทางหรือวาจาให้ดูน่ารักเพื่อเรียกร้องความสนใจเป็นต้น (มักใช้แก่หญิง).
สาง
หมายถึง(วรรณ) น. ช้าง เช่น เสือสางสรรโสงสรรพและไกร สรร้องสำเทินสาร. (สมุทรโฆษ).
ฉม่อง
หมายถึง[ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา. (คำพากย์).
คฤธระ
หมายถึง[คฺรึทฺระ] (แบบ) น. แร้ง, ในบทประพันธ์ใช้ว่า คฤธร ก็มี เช่น เกิดเป็นภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อนก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
สิ้นสังขาร
หมายถึง(วรรณ) ก. ตาย เช่น ร้องประกาศแก่พหลพลยักษ์ อันรามลักษมณ์สุดสิ้นสังขาร. (รามเกียรติ์).