ค้นเจอ 484 รายการ

ไตรสิกขา

หมายถึงน. สิกขา ๓ คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา.

เลห,เล่ห์

หมายถึงน. กลอุบายหรือเงื่อนงำอันอาจทำให้คนอื่นหลงผิด เข้าใจผิด, ใช้ว่า เล่ห์กล ก็มี. ว. คล้าย, เปรียบ, เช่น, เหมือน.

สาไถย

หมายถึงน. การแสร้งทำให้เขาหลงผิดเข้าใจผิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มารยา เป็น มารยาสาไถย. (ป. สาเยฺย; ส. ศาฐฺย).

เสียงหลง

หมายถึงน. เสียงที่แผดดังผิดปรกติ เช่น เธอตกใจร้องจนเสียงหลง; เสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรี เช่น เขาเป็นนักร้องไม่ได้ เพราะร้องเสียงหลงอยู่เสมอ.

ก้นปอด

หมายถึงน. ก้นที่สอบเล็กผิดปรกติ, ก้นที่ไม่ใคร่มีเนื้อ.

จารีตประเพณี

หมายถึงน. ประเพณีที่นิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว.

ช้างสีดอ

หมายถึงน. ช้างพลายที่มีงาสั้นโผล่ออกมาเล็กน้อยผิดกับช้างสามัญ.

ตีหน้า

หมายถึงก. แกล้งทำสีหน้าให้ผิดจากใจจริง เช่น ตีหน้าเซ่อ.

ใจแตก

หมายถึงว. ประพฤติไปตามที่ตนนิยมในทางที่ผิดหรือนอกโอวาทจนเคยตัว.

ต่อปาก

หมายถึงก. เล่าสืบกันมา; พูดยันกันเพื่อสอบสวนฝ่ายผิดฝ่ายถูก.

แม่น

หมายถึงว. เที่ยง, แน่วแน่, เช่น ยิงปืนแม่น, ไม่ผิด, ถูกต้อง, เช่น จำแม่น.

โทษ,โทษ-

หมายถึง[โทด, โทดสะ-] น. ความไม่ดี, ความชั่ว, เช่น โทษแห่งความเกียจคร้าน, ความผิด เช่น กล่าวโทษ, ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ เช่น ถูกลงโทษ, ผลร้าย เช่น ยาเสพติดให้โทษ. ก. อ้างเอาความผิดให้ เช่น อย่าโทษเด็กเลย. (ส.; ป. โทส).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ