ค้นเจอ 488 รายการ

ราชกิจจานุเบกษา

หมายถึงน. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท.

แผนก

หมายถึง[ผะแหฺนก] น. ส่วนย่อย; พวก, หมู่; ส่วนราชการที่รองมาจากกอง เช่น แผนกสารบรรณ แผนกคลัง.

อุปราช

หมายถึง[อุปะหฺราด, อุบปะหฺราด] (โบ) น. ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์ประจำภาคหนึ่ง ๆ ในอาณาจักร.

ผู้แทน

หมายถึงน. ผู้ที่ทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของบุคคลหน่วยราชการ หรือหน่วยงาน; (ปาก) ผู้แทนราษฎร.

นางท้าว

หมายถึงน. หญิงซึ่งรับบรรดาศักดิ์และมีหน้าที่ระวังรักษาราชการฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง; นางพญา.

การ,-การ,-การ

หมายถึงคำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

กับ

หมายถึงลักษณนามเรียกใบลานซึ่งจัดเข้าแบบสำหรับจารหนังสือประมาณ ๘๐๐ ใบ.

หมาย

หมายถึงน. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคำสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงานสั่งให้กระทำการ หรือห้ามกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกำหนด เช่น หมายหัวกระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.

คำแถลง

หมายถึง[-ถะแหฺลง] (กฎ) น. คำชี้แจงต่อศาลด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บรรณ,บรรณ-

หมายถึง[บัน, บันนะ-] น. ปีก; หนังสือ; ใบไม้. (ส. ปรฺณ; ป. ปณฺณ).

การสื่อสาร

หมายถึงน. วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือเป็นต้น จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีกสถานที่หนึ่ง.

ตราสาร

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น โฉนดที่ดิน ตั๋วเงิน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ