ค้นเจอ 307 รายการ

เกณฑ์ตะพัด

หมายถึงน. เครื่องผูกสำหรับหัดช้างให้เดินฝีเท้าเรียบ. (สิบสองเดือน).

เทว,เทว-

หมายถึง[ทะเว-] (แบบ) ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว).

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

หมายถึง(สำ) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.

ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน

หมายถึง(สำ) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ทำไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.

ทุ

หมายถึง(แบบ) ว. สอง, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).

บังอร

หมายถึงน. นาง; เด็ก ๆ ที่กำลังน่ารัก เช่น เมื่อทอดพระเนตรเห็นสองบังอรอรรคปิโยรส.

สุขนาฏกรรม

หมายถึง[สุกขะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.

กระบิ

หมายถึงน. หญ้าที่ซับซ้อนกันอยู่ในที่ลุ่มหรือในหนอง เช่น ตัดกระบิในหนองเป็นสองหน. (ไกรทอง).

อุปกิเลส

หมายถึง[อุปะกิเหฺลด] น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง มี อภิชฌาวิสมโลภ เป็นต้น. (ป. อุปกฺกิเลส).

เหมาะสม

หมายถึงว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.

อาโปกสิณ

หมายถึง[-กะสิน] น. วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอาธาตุนํ้าเป็นอารมณ์.

วัดวา

หมายถึงก. พอเท่า ๆ กัน, พอเสมอกัน เช่น พี่น้องสองคนนี้สวยพอวัดวากันได้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ