ตัวกรองผลการค้นหา
บรมบพิตร
หมายถึง[บอรมมะบอพิด] น. คำที่พระสงฆ์ใช้สำหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, เดิมใช้ว่า มหาบพิตร.
เพศยันดร
หมายถึง[เพดสะยันดอน] น. นามพระบรมโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ, พระเวสสันดร. (ป. เวสฺสนฺตร; ส. ไวศฺยานฺตร).
มหาบพิตร
หมายถึง[-บอพิด] น. เดิมเป็นคำพระสงฆ์ใช้สำหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, ปัจจุบันใช้ว่า บรมบพิตร หรือ สมเด็จบรมบพิตร.
นามธรรม
หมายถึง[นามมะทำ] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
คุณนาม
หมายถึง[คุนนะ-] น. ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยถือเอาความดีเป็นหลัก เช่น พระปิยมหาราช; (ไว; เลิก) คำคุณที่มาใช้เป็นนาม เช่น ความดีความชอบ.
พุทธ,พุทธ-,พุทธะ
หมายถึง[พุด, พุดทะ-] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).
ลักษณนาม
หมายถึง(ไว) น. คำนามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น คน ๓ คน แมว ๒ ตัว ขลุ่ย ๓ เลา ลูกคนโต หมวกใบใหญ่.
พญา
หมายถึง[พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้นำหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
ลูกยาเธอ
หมายถึง(ราชา) น. คำนำหน้านามพระราชโอรสในสมัยปลายรัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกยาเธอ, ถ้ามีพระมารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ.
ค่อย,ค่อย,ค่อย ๆ,ค่อย ๆ
หมายถึงว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น เสียงค่อย พูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น; ไม่แรง, เบามือ, เช่น นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ.
เวสสันดร
หมายถึงน. พระนามพระโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีใจกว้างขวางชอบให้ของแก่ผู้อื่นอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เช่น ใจกว้างเหมือนพระเวสสันดร มีอะไรให้เขาหมด. (ป.).
การก
หมายถึง[กา-รก] น. ผู้ทำ. (ไว) ก. กริยาที่ทำหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).