ค้นเจอ 182 รายการ

สี

หมายถึงน. ลักษณะของแสงสว่าง ปรากฏแก่ตาให้เห็นเป็น ขาว ดำ แดง เขียว เป็นต้น; สิ่งที่ทำให้ตาเห็นเป็น ขาว ดำ แดง เขียว เป็นต้น เช่น สีทาบ้าน สีย้อมผ้า สีวาดภาพ.

แบเรียม

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอมละลายที่ ๗๑๔ °ซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรมสีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. (อ. barium).

ข้าวเสียแม่ซื้อ

หมายถึงน. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยนข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.

มหาหิงคุ์

หมายถึงน. ยางของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Ferula วงศ์ Umbelliferae มีกลิ่นร้อนฉุนและเหม็น นิยมใช้เป็นยาทาภายนอก เช่น ชนิด F. assafoetida L. และชนิด F. foetida (Bunge) Regel. (ป.; ส. หิงฺคุ).

เสน

หมายถึงน. สารประกอบประเภทออกไซด์ของตะกั่ว มีสูตร Pb3O4 ลักษณะเป็นผงละเอียด สีแดงเข้ม ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสีทาและทำแก้ว, ตะกั่วแดง ก็เรียก. (อ. red lead, minium). (ดู ตะกั่วแดง).

คันธารราษฎร์

หมายถึง[-ทาระราด] น. ชื่อแคว้นโบราณ อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง สำหรับตั้งในพิธีขอฝนและแรกนาเป็นต้น. (ป., ส. คนฺธาร = ชื่อแคว้น + ส. ราษฺฏฺร = รัฐ, แคว้น).

สมุก

หมายถึง[สะหฺมุก] น. ถ่านทำจากใบตองแห้งใบหญ้าคาเป็นต้นป่นให้เป็นผงประสมกับรักนํ้าเกลี้ยง สำหรับทารองพื้นบนสิ่งต่าง ๆ เช่นบานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารก่อนที่จะเขียนลายรดนํ้าปิดทอง.

ศรัทธา

หมายถึง[สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).

บ้าย

หมายถึงก. ป้าย, ทำให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทำให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ในความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.

ละครยก

หมายถึงน. เครื่องสังเวยพระภูมิหรือแก้บน ทำเป็นแท่นยกขนาดเล็ก มีเสา ๔ มุม ดาดเพดานด้วยกระดาษ มีตุ๊กตาดินปั้นทาฝุ่นเขียนสีสมมุติเป็นตัวละคร ๓-๕ ตัวเสียบไว้บนแท่นนั้น.

กะโล่

หมายถึงpic015.gif,กะโล่>น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้นํ้ารั่วออก สำหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่มมีปีกแข็งโดยรอบ โครงทำด้วยไม้ฉำฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้นแล้วหุ้มผ้าหรือทำด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่.

ขมิ้น

หมายถึง[ขะมิ่น] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ