ค้นเจอ 142 รายการ

นอต

หมายถึงน. หน่วยแสดงความเร็วของสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามระบบการเดินเรือ มีค่าเท่ากับ ๑ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง หรือ ๑.๘๕๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่น เรือแล่นได้เร็ว ๘ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า เรือมีความเร็ว ๘ นอต ลมมีความเร็ว ๕๐ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า ลมมีความเร็ว ๕๐ นอต. (อ. knot).

บรรยากาศ

หมายถึงน. อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน; หน่วยของความดัน กำหนดว่า ความดัน ๑ บรรยากาศ มีค่าเท่ากับความดันของลำปรอทที่ตั้งตรงสูง ๗๖ เซนติเมตร ที่ ๐ °ซ. ณ ระดับทะเลที่ละติจูด ๔๕ ° หรือเท่ากับความดัน ๑๐๑,๓๒๕ นิวตันต่อตารางเมตร.

ภาษาราชการ

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

ไซเกิล

หมายถึง(ฟิสิกส์) น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่งกลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่งกระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลงจนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จำนวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล. (อ. cycle).

ละ

หมายถึงก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.

คณ,คณ-,คณะ

หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).

อัยการ

หมายถึง[ไอยะ-] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงานอัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.

ซอง

หมายถึงน. ซอกหรือช่องแคบ เช่น ซองหัวเรือท้ายเรือ เรียกว่า ซองเรือ; ซอกหรือช่องแคบที่ทำขึ้นสำหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่บังคับ; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสำหรับสอดใส่สิ่งของ เช่น ซองธูป ซองพลู ซองจดหมาย ซองบุหรี่, ลักษณนามเรียกว่า ซอง เช่น ธูปซองหนึ่ง บุหรี่ ๒ ซอง; หน่วยของปริมาณของแท่งน้ำแข็งก้อนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ๔ กั๊ก; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายกระบอกแต่มีปากบานกว้าง มีงาแซงใส่ ก้นมีฝาทำด้วยไม้ไผ่เจาะรูปิด; เรียกไหชนิดหนึ่ง รูปร่างสูง ๆ ปากเล็กแคบ สำหรับใส่หัวผักกาดเค็มเป็นต้น.

ทองคำ

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ