ค้นเจอ 367 รายการ

ยัก

หมายถึงก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทำให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของบางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้างไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุกยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไปลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่งเรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.

เทียมหน้าเทียมตา

หมายถึงว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเทียมหน้าเทียมตากับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.

เสมอบ่าเสมอไหล่

หมายถึงว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเสมอบ่าเสมอไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เทียมหน้าเทียมตา ก็ว่า.

อีหลัดถัดทา

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งแห่งคำร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่งของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า “อีหลัดถัดทา”.

กระเจิดกระเจิง

หมายถึงว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น กองทัพข้าศึกถูกตีแตกกระเจิดกระเจิงไป. (ดู กระเจอะกระเจิง).

บทความ

หมายถึงน. ข้อเขียนซึ่งอาจจะเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็น มักตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร สารานุกรม เป็นต้น.

หน้าทับ

หมายถึงน. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกตะโพนหรือกลองแขกซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่าง ๆ ใช้บอกสัดส่วนและประโยคของเพลงนั้น ๆ เช่น หน้าทับปรบไก่.

ตีปีก

หมายถึงก. แสดงความดีใจโดยงอข้อศอกแล้วตีสีข้างอย่างไก่ตีปีก, แสดงอาการลิงโลดด้วยความดีใจ.

ไม้งก

หมายถึงน. ไม้รูปคล้ายตะลุมพุกสำหรับควาญท้ายตีช้างเมื่อต้องการให้ช้างไปเร็ว.

ตะลุย

หมายถึงว. อาการที่ตีหรือบุกดะเข้าไปไม่รั้งรอ, อาการที่อ่านเรื่อยไปโดยไม่พินิจพิจารณา.

ประหาร

หมายถึงน. การตี, การฟัน, การล้าง, การผลาญ. ก. ฆ่า, ทำลาย. (ส. ปฺรหาร; ป. ปหาร).

เป้ง

หมายถึงว. โต เช่น มดเป้ง; ถูกอย่างจัง เช่น ชนเป้ง; เสียงดังอย่างเสียงตีด้วยไม้แรง ๆ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ