ตัวกรองผลการค้นหา
คอบ
หมายถึง(โบ; กลอน) ก. คืน, กลับ, เช่น สุทธนูประภาฟอง พัดจาก จยรแฮ ยงงคอบคืนหว้ายได้ สู่สํสองสํฯ. (กำสรวล).
ละครลิง
หมายถึงน. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.
ทูต เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ฑูต เป็นคำที่เขียนผิด ❌
กระทวย
หมายถึงน. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ).
กำพง
หมายถึงน. ท่านํ้า, ตำบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกำพงไพร. (ม. คำหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่านํ้า; มลายู กัมพง ว่า ตำบล).
ชามพูนท
หมายถึง[ชามพูนด] น. ทองคำเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุทหรือ ชัมพูนท ก็ว่า. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที.).
ฉับฉ่ำ
หมายถึง(กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำที่ตำนาน อนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
กรูด
หมายถึง[กฺรูด] (โบ) น. มะกรูด เช่น งั่วนาวทรนาวเนกกรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) มะกรูด.
ข้าวกระยาทิพย์
หมายถึงน. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
บทบูรณ์
หมายถึง[บดทะ-] น. คำที่ทำให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตามฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คำ “นุ” เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
จันทรภิม
หมายถึง(โบ) น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้องว่า เงินจันทรภิม ในข้อความว่า เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม. (สามดวง).
สารท
หมายถึง[สาด] น. เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน ๑๐ โดยนำพืชพรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์และข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์. (ป. สรท, สารท; ส. ศารท).