ค้นเจอ 221 รายการ

ตะโพน

หมายถึงน. กลองสองหน้า รูปหัวสอบท้ายสอบกลางป่อง ขึงด้วยหนังทั้ง ๒ หน้า มีขารอง ตีด้วยฝ่ามือ.

อวบ

หมายถึงว. มีเนื้อหนังสมบูรณ์เต่งตึงกว่าปรกติ แต่ไม่ถึงกับอ้วน เช่น แขนอวบ ขาอวบ, โตและเต่งกว่าปรกติ เช่น ผักบุ้งยอดอวบ มะม่วงลูกอวบ.

นิ่ง,นิ่ง ๆ

หมายถึงก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.

ถ่ายภาพยนตร์

หมายถึงก. บันทึกภาพให้ต่อเนื่องกันบนฟิล์มแถบยาว ๆ เมื่อฉายด้วยเครื่องฉายไปบนจอ จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้เหมือนจริง, (ปาก) ถ่ายหนัง.

หนังเรียด

หมายถึงน. หนังที่ทำเป็นเส้นแบน ๆ เล็ก ๆ สำหรับใช้โยงเร่งเสียง โดยสอดเข้าไปกับไส้ละมานที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของตะโพน เปิงมาง กลองสองหน้า เป็นต้น มักร้อยถี่จนมองแทบไม่เห็นตัวหุ่นกลอง ถ้าเร่งหนังเรียดให้ตึงขึ้นเท่าใด หน้ากลองก็ยิ่งตึงขึ้นเท่านั้น.

ขยัน

หมายถึง[ขะหฺยัน] ก. ทำการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทำหรือประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก. (เพลงยาวถวายโอวาท).

สีโปสเตอร์

หมายถึงน. สีสำหรับระบายชนิดหนึ่ง ทำขึ้นจากผงสีชนิดที่เรียกว่า สีฝุ่น ผสมกับกาวหนังสัตว์ ยางไม้ หรือ ไข่แดง เนื้อสีค่อนข้างข้น.

โลม

หมายถึงก. ทำอาการประคองลูบให้รู้สึกว่าเอ็นดูรักใคร่เป็นต้น. น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยวนางเบญกาย, หนังโลม ก็ว่า.

กริบ

หมายถึง[กฺริบ] ก. ขริบ, ตัดให้พลันขาดด้วยกรรไกรโดยไม่มีเสียงหรือมีเสียงเช่นนั้น เช่น กริบผม กริบชายผ้า, ตัดขาดโดยฉับไวและแนบเนียนด้วยความคม. ว. มาก เช่น คมกริบ; โดยปริยายหมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ.

อู้

หมายถึงว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรืองา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.

สายสูตร

หมายถึงน. เชือกหนังที่ผูกช้างให้เดินตามกัน; เส้นด้ายที่เจ้านายหรือสมเด็จพระสังฆราชจับโยงไปเพื่อกระทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ยกช่อฟ้าหรือเททองหล่อพระพุทธรูปเป็นต้น.

ตะลุง

หมายถึงน. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ