ค้นเจอ 153 รายการ

หกคะเมน

หมายถึงก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.

สิ้นเชิง

หมายถึงก. สิ้นท่า, หมดท่า, หมดชั้นเชิง, เช่น อันธพาลเมื่อเจอนักสู้เข้าก็สิ้นเชิงนักเลง, โดยปริยายมักใช้กับคำ โดย หรือ อย่าง เป็น โดยสิ้นเชิง อย่างสิ้นเชิง หมายความว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกประการ, เช่น ข่าวลือนี้ไม่มีมูลความจริงโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.

สากล

หมายถึงว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคำ “ระหว่างประเทศ” ก็มี เช่น สภากาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).

กบฏ

หมายถึง[กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).

พาน

หมายถึงก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคำ พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ, เช่น ไม่ได้พบพานเสียนาน; ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง, เช่น เอาเชือกมาพานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง, กั้นไว้ เช่น พานคนข้างหลังไว้, ระให้หมดไป เช่น เอาไม้กวาดพานหยากไย่.

พยุง

หมายถึง[พะยุง] ก. ประคองให้ทรงตัวอยู่, ประคองให้อยู่ในสภาพปรกติ, เช่น พยุงตัวลุกขึ้น พยุงตัวไม่ให้จมน้ำ, ระวังไม่ให้ล้มไม่ให้ซวนเซเป็นต้น เช่น พยุงลุก พยุงนั่ง พยุงคนไข้ พยุงฐานะ, (ปาก) พยุพยุง ก็ว่า.

หมู

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในวงศ์ Suidae เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดยใช้จมูกดุด; (ปาก) บุคคลที่อาจหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย เช่น นักมวยต่างประเทศคนนี้อย่าไปคิดว่าหมูนะ.

ทลาย

หมายถึง[ทะ-] ก. อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทำให้พัง เช่น กำแพงทลาย ทลายกำแพง, มักใช้เข้าคู่กับคำ พัง เป็น พังทลาย, โดยปริยายหมายความว่า ล้มเหลว ไม่ได้ดังหวัง เช่น ความฝันพังทลาย วิมานทลาย.

ถลุง

หมายถึง[ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อโลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความแวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุงเสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.

ราบ

หมายถึงว. เรียบเสมอพื้นไม่มีลุ่ม ๆ ดอน ๆ เช่น ที่ราบ ราบเป็นหน้ากลอง, โดยปริยายหมายความว่า หมดสิ้น เช่น หญ้าตายราบ ปราบศัตรูเสียราบ; ล้มระเนระนาด เช่น พายุพัดป่าราบ; เรียกทหารเดินเท้าว่า ทหารราบ, เรียกชายฉกรรจ์ที่อายุครบเข้าประจำการทหาร.

กราน

หมายถึง[กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.

ประคอง

หมายถึงก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้มเป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวังไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ