ตัวกรองผลการค้นหา
บรรณศาลา
หมายถึงน. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้).
พรรษา
หมายถึง[พันสา] น. ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน เช่น เข้าพรรษา จำพรรษา; ปี เช่น บวช ๓ พรรษา, (ราชา) มีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส, วสฺสาน).
สุขศาลา
หมายถึง[สุกสาลา] น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจำ ให้บริการสาธารณสุขทุกสาขา และส่งเสริมป้องกันด้านอนามัยแก่ประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน, ปัจจุบันเรียกว่า สถานีอนามัย.
สาธยาย
หมายถึง[สาทะยาย, สาดทะยาย] น. การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).
สามเวท
หมายถึง[สามะเวด, สามมะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๓ ของพระเวท ประพันธ์เป็นฉันท์ ส่วนใหญ่คัดมาจากฤคเวท สำหรับขับในพิธีบูชาด้วยน้ำโสม. (ส.). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).
วิสามัญฆาตกรรม
หมายถึง[วิสามันคาดตะกำ] (กฎ) น. ฆาตกรรมที่ผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่าตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่.
สมณสารูป
หมายถึงว. ที่สมควรแก่พระ (ใช้แก่กิริยามารยาทเป็นต้น). น. กิริยามารยาทเป็นต้นที่สมควรแก่สมณะ เช่น ภิกษุพูดจาควรมีสมณสารูป. (ป. สมณสารุปฺป).
ฉ่า
หมายถึงว. เสียงนํ้ามันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลงแม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงนํ้าดังเช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
อุตสาหกรรม
หมายถึง[อุดสาหะกำ] น. กิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิตสิ่งของหรือจัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว; ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรม การมาตรฐานเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม และทรัพยากรธรณี.
สามิภักดิ์
หมายถึงน. ความจงรักภักดีต่อเจ้านาย, การยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้อำนาจ. ก. จงรักภักดีเจ้านาย, ยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้อำนาจ, สวามิภักดิ์. (ป. สามิ + ส. ภกฺติ; ส. สฺวามินฺ + ภกฺติ).
วิสามานยนาม
หมายถึง[วิสามานยะนาม] (ไว) น. คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดำ ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.
สาธารณ์
หมายถึง[สาทาน] ว. ตํ่า, เลว; ชั่วช้า, เช่น ดังกากาจชาติช้าสาธารณ์ จะประมาณหมายหงส์พงศ์พระยา. (อิเหนา), บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ชั่วช้า เป็น ชั่วช้าสาธารณ์; ทั่ว ๆ ไป เช่น ของสาธารณ์. (ป., ส. ว่า ทั่วไป, สามัญ).