ค้นเจอ 271 รายการ

สุข,สุข-

หมายถึง[สุก, สุกขะ-] น. ความสบายกายสบายใจ เช่น ขอให้อยู่ดีมีสุข เกิดมาก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เป็น เช่น ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เป็นสุข ๆ นะ. ว. สบายกายสบายใจ เช่น เดี๋ยวนี้เขาอยู่สุขสบายดี. (ป., ส.).

ไตรโลกย์

หมายถึง(โบ) น. ประชุมโลก ๓ เช่น อันว่าพระไตรโลกย์ครู สวยมภูญาณนายก. (ม. คำหลวง สักบรรพ). (ส.).

ลายพร้อย

หมายถึงว. เป็นจุด เป็นประ เป็นดวง เป็นเส้นไปทั่วบริเวณ เช่น หน้าลายพร้อย ประแป้งลายพร้อย สักหลังลายพร้อย.

สุดสายตา

หมายถึงว. สุดระยะที่ตาจะมองเห็น เช่น มองจนสุดสายตา ก็ไม่เห็นต้นไม้สักต้น, สุดวิสัยที่จะมองเห็น เช่น ลูกอยู่สุดสายตาที่พ่อแม่จะตามไปดูแล.

เวลา

หมายถึงน. ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกำหนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น เช่น เวลาเป็นเงินเป็นทอง ขอเวลาสักครู่. (ป., ส.).

กิริยา

หมายถึงน. การกระทำ; อาการที่แสดงออกมาด้วยกาย, มารยาท, บางทีใช้ในอาการที่ดี เช่น มีกิริยา หมายความว่า มีกิริยาดี. (ป.).

กากภาษา

หมายถึง[กากะพาสา] น. ชาติกา เช่น ลางมารนิรมิตอินทรีย์เศียรเป็นอสุรี และกายเป็นกากภาษา. (คำพากย์).

เบญจกามคุณ

หมายถึงน. เครื่องผูกอันบุคคลพึงใคร่ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย. (ป. ปญฺจกามคุณ).

ปิงคลหัตถี

หมายถึง[ปิงคะละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองอ่อนดั่งสีตาแมว. (ดู กาฬาวก).

ลำบาก

หมายถึงว. เดือดร้อนเพราะถูกทรมานกายหรือใจ เช่น ตกอยู่ในฐานะลำบาก ตกที่นั่งลำบาก, ยาก เช่น ทำลำบาก ตัดสินใจลำบาก, ไม่สะดวก เช่น ทางลำบาก.

หนุบ,หนุบ ๆ

หมายถึงว. ลักษณะอาการตอด, อาการที่เจ็บในกายรู้สึกเต้นกระเทือนแต่น้อย ๆ; อาการที่ติดแน่นอยู่แล้วดึงออกมามีเสียงดังเช่นนั้น.

ศีล

หมายถึง[สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม); พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี; ป. สีล).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ