ตัวกรองผลการค้นหา
สัทศาสตร์
หมายถึง[สัดทะ-] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติของการออกเสียงและการเปล่งเสียงพูด. (อ. phonetics).
ตริ
หมายถึง[ตฺริ] ใช้ประกอบหน้าศัพท์ แปลว่า สาม เช่น ตริโกณ คือ รูปสามเหลี่ยม. (ดู ตรี ๓).
ธรรม
หมายถึงคำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
มนัส,มนัส-
หมายถึง[มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.).
นพ,นพ-
หมายถึง[นบ, นบพะ-] ว. เก้า (ใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น). (ป. นว; ส. นวนฺ).
ฐานียะ
หมายถึง(แบบ) ว. ควรแก่ตำแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).
พยุหร
หมายถึง[พะยุหอน] น. เกณฑ์เลขผลหารของวิธีฉวาง. (ศัพท์ใช้ในตำราเลขโบราณ).
รัฐศาสตร์
หมายถึง[รัดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการเมืองและการปกครองประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
อลังการศาสตร์
หมายถึงน. วิชาว่าด้วยวิธีการประพันธ์ที่จะทำให้เกิดอรรถรสและความประทับใจ อำนวยประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีมาก.
อุทกศาสตร์
หมายถึงน. วิชาว่าด้วยนํ้าบนพื้นโลกเกี่ยวกับการวัดหรือการสำรวจแผนที่ทะเล โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะเพื่อการเดินเรือ. (ป., ส. อุทก + ส. ศาสฺตฺร).
ปริ,ปริ-,ปริ-
หมายถึง[ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นำหน้าศัพท์อื่นแปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.
จิตวิทยา
หมายถึง[จิดตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต.