ค้นเจอ 238 รายการ

ตะค้า

หมายถึงน. ชื่อหวายชนิด Calamus tigrinus Kurz ในวงศ์ Palmae ผิวเป็นมัน เนื้อเหนียว ใช้ผูกสิ่งของ.

โบ

หมายถึงน. เชือกหรือริบบิ้นทำเป็นห่วง ๒ ห่วงคล้ายหูกระต่ายแล้วผูกไขว้กันเป็นเงื่อนกระทก. (อ. bow).

ร้อย

หมายถึงก. สอด, สอดด้วยด้ายเป็นต้น, เช่น ร้อยดอกไม้ ร้อยพวงมาลัย ร้อยสตางค์แดง ร้อยเชือกผูกรองเท้า.

ตะกาง

หมายถึงน. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้างสำหรับผูกเหยื่อลอยน้ำไว้; เครื่องล่อใจ; สะกาง ก็เรียก.

เกียด

หมายถึงน. เรียกไม้ที่ปักขึ้นกลางลานสำหรับผูกควายหรือวัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ ว่า เสาเกียด.

ทำเวร

หมายถึงก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทำงาน โดยเฉพาะทำความสะอาดห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทำเวรทำกรรม ก็ว่า.

รับขวัญ

หมายถึงก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรี ผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.

ต๋ง

หมายถึงก. อาการที่เอาเชือกผูกของหนัก ๆ เช่นเรือนแพ แพซุง ยึดหรือพันไว้กับหลักเป็นต้นแล้วค่อย ๆ ผ่อนไป, เอาเชือกเป็นต้นผูกของหนัก ๆ เช่นเสาไว้แล้วค่อย ๆ พยุงให้ตั้งขึ้นแล้วผ่อนลงหลุม, ขัดไว้ไม่ให้เลื่อนหลุดออกอย่างขัดไม้ขันชะเนาะ.

ช้างยืนแท่น

หมายถึงน. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น.

โชงโลง

หมายถึงน. เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, ชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้.

ม่านสองไข

หมายถึงน. ม่าน ๒ ชายที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน สำหรับประดับช่องทางประตูหน้าต่างเป็นต้น.

กระพัตร

หมายถึง[-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับ หรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ