ตัวกรองผลการค้นหา
อัจนา
หมายถึง[อัดจะ-] น. การเซ่นสรวง, การถวาย, การบูชานับถือ. (ป. อจฺจนา).
โภชนากร
หมายถึง[โพชะนา-, โพดชะนา-] น. ผู้ที่มีความรู้เรื่องโภชนาการแล้วสามารถให้ความรู้และคำแนะนำในเรื่องอาหารแก่บุคคลอื่นต่อไปได้.
หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน
หมายถึง(สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้องก้มลงดิน.
ถือศักดินา
หมายถึง(โบ) ก. มีศักดิ์โดยถือเอานาเป็นหลักในการกำหนดอำนาจและปรับไหม.
เทศกาล
หมายถึงน. คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ทำนาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).
เถียง
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สำหรับอยู่เฝ้าข้าว.
วัสคณนา
หมายถึง[วัดสะคะนะนา] น. การนับปี. (ป. วสฺส + คณนา).
จาป
หมายถึง[จาบ] (แบบ) น. ลูกสัตว์ เช่น แม่นกจากพรากพราก แลนา จากจาปน้อยแนบอก แลนา. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป. จาป; ส. ศาว).
กรรษก
หมายถึง[กัดสก] (แบบ) น. ชาวนา. (ส. กรฺษก; ป.กสฺสก).
กระเวน
หมายถึง(กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว
หมายถึง(สำ) ก. ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.
กปณ
หมายถึง[กะปะนะ] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป.).