ค้นเจอ 168 รายการ

ฝ่า

หมายถึงก. กล้าผ่าน (เข้าไปหรือออกมา) หรือฝืนอยู่ในที่อันตราย, ทนรับ, ทนสู้, เช่น ฝ่าอุปสรรค ฝ่าอันตราย; ทวน เช่น ฝ่ากระแสคลื่น.

เลือดเข้าตา

หมายถึง(สำ) ก. ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือเจ็บช้ำน้ำใจเป็นต้น, กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเพราะทนถูกบีบคั้นไม่ไหว.

หงอ

หมายถึงว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี.

ลุ่ยหู

หมายถึงว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้ถูกกัดหูเสียจนหมด).

อัพภาส

หมายถึง[อับพาด] น. คำซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).

แฉ่ง

หมายถึงว. ใช้ประกอบอาการของยิ้มหรือหน้าที่ร่าเริงเบิกบาน เช่น ยิ้มแฉ่ง หน้าแฉ่ง. น. เครื่องตีประกอบจังหวะทำด้วยโลหะ รูปอย่างม้าล่อ.

แย้ม

หมายถึงก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.

ร่า

หมายถึงว. อาการที่แสดงให้เห็นว่าเบิกบานเต็มที่ เช่น หัวเราะร่า ยิ้มร่า; เปิดเต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า หน้าต่างเปิดร่า.

มือเปล่า

หมายถึงน. มือที่ไม่ได้ถืออาวุธ เช่น สู้มือเปล่า, มือที่ไม่ได้ถือของติดไปด้วย เช่น มามือเปล่า, ไม่ได้ลงทุน เช่น จับเสือมือเปล่า.

หาญ

หมายถึงว. กล้า, เก่ง, เช่น ทหารหาญ; บังอาจ เช่น หาญสู้, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น กล้าหาญ หักหาญ เหี้ยมหาญ ฮึกหาญ.

กังก้า

หมายถึงว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียกข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).

ปริ่ม

หมายถึง[ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดีปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ