ค้นเจอ 135 รายการ

สมบูรณ์

หมายถึงก. บริบูรณ์ เช่น สมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ สมบูรณ์ด้วยข้าทาสบริวาร, ครบถ้วน เช่น หลักฐานยังไม่สมบูรณ์; อ้วนท้วน, แข็งแรง, เช่น เขาสมบูรณ์ขึ้น เดี๋ยวนี้สุขภาพเขาสมบูรณ์ดีแล้ว. ว. มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะครบถ้วน เช่น มีคุณสมบัติสมบูรณ์ตามที่กำหนด; อ้วนท้วน, แข็งแรง, เช่น มีร่างกายสมบูรณ์ สุขภาพสมบูรณ์. (ส.).

โบราณสถาน

หมายถึง[โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.

ปั้น

หมายถึงก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทำให้เป็นรูปตามที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.

สาบาน

หมายถึงก. กล่าวคำปฏิญาณโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพยาน, ประเพณีเดิมจะต้องดื่มนํ้าพระพุทธมนต์ นํ้าเทพมนตร์ หรือ สุราผสมเลือดที่ผู้ร่วมกล่าวคำปฏิญาณกรีดให้หยดลงไปด้วย เช่น สาบานเป็นพี่น้องกัน เพื่อนร่วมสาบาน; (กฎ) กล่าวคำปฏิญาณตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตนว่า จะให้การตามสัตย์จริง. (ป. สปน; ส. ศปน).

หมั้น

หมายถึงก. มอบสิ่งของให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความมั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย. น. (กฎ) การที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง; เรียกของที่มอบให้นั้นว่า ของหมั้น, ถ้าเป็นทอง เรียกว่า ทองหมั้น, ถ้าเป็นแหวน เรียกว่า แหวนหมั้น, ผู้ที่หมั้นกันแล้ว เรียกว่า คู่หมั้น.

โบราณวัตถุ

หมายถึง[โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.

กฎหมาย

หมายถึง(กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกำหนดเก่า); ออกหมายกำหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่ว จะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกำหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กำหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).

กัน

หมายถึงก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, ช้างดั้ง ก็เรียก, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ ว่า เรือกัน.

โฉนด

หมายถึง[ฉะโหฺนด] น. หนังสือสำคัญของทางราชการแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ก่อนนี้ถ้าเป็นสวนปลูกไม้ยืนต้น เรียกว่า โฉนดสวน, ถ้าเป็นสวนไม้ล้มลุก เรียกว่า โฉนดป่า, เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ เริ่มออกโฉนดแบบใหม่โดยวิธีรังวัดปักหลักเขตลงในที่ดินด้วยหมุดหลักฐานการแผนที่ และแสดงรูปแผนที่ที่ดินนั้นลงไว้ในโฉนดด้วย เรียกว่า โฉนดแผนที่; หนังสือ เช่น ออกโฉนดบาดหมายให้แก่ราชการ. (บรมราชาธิบาย ร. ๔).

สัก

หมายถึงก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทำเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดงเป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิกเป็นต้น.

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

ขึ้น

หมายถึงก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง; เพิ่มหรือทำให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทำเนียบ; เอ่ยคำหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ, เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทำอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทำให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ