ค้นเจอ 5,618 รายการ

เปลาะ,เปลาะ ๆ

หมายถึง[เปฺลาะ] น. ระยะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, ลักษณะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, เช่น ผูกเป็นเปลาะ แก้ปัญหาเป็นเปลาะ ๆ, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดหรือผูกให้เป็นตอน ๆ เช่น มัดไต้ ๓ เปลาะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหามี ๔ เปลาะ.

มัทนียะ

หมายถึง[มัดทะนียะ] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ชวนให้เมา. (ป. มทนีย).

ศรี

หมายถึง[สี] น. พลู. (ม.); (ราชา) หมากพลู เรียกว่า พระศรี.

ติงส,ติงส-,ติงสติ

หมายถึง[ติงสะ-] (แบบ) ว. สามสิบ, โดยมากใช้ว่า ดึงส์. (ป. ตึส, ตึสติ).

สหัส,สหัส-,สหัสสะ

หมายถึง[สะหัดสะ-] ว. หนึ่งพัน คือ ๑๐ ร้อย (๑,๐๐๐). (ป.; ส. สหสฺร).

หึงส,หึงส-,หึงสา

หมายถึง[หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

มรรตยะ,มรรตัย,มัตตัย,มัตยะ

หมายถึง[มันตะยะ, มันไต, มัดไต, มัดตะยะ] น. ผู้ที่ต้องตาย, ได้แก่ พวกมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน, คู่กับ อมร ผู้ไม่ตาย คือ เทวดา. (ส. มรฺตฺย; ป. มจฺจ).

ทิวส,ทิวส-,ทิวสะ

หมายถึง[ทิวะสะ] (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).

ศกุนิ

หมายถึงน. นก. (ส.; ป. สกุณิ).

อาภัพเหมือนปูน

หมายถึง(สำ) ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใครมองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่างประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึงปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก.

ขึ้นร้าน

หมายถึงน. วิธีนับคะแนนในการเล่นหมากเก็บ โดยเอาตัวหมากทั้งหมดวางบนหลังมือ กระดกมือให้หมากลอยขึ้นแล้วหงายมือรับอย่างรวดเร็ว.

ผ้ามัดหมี่

หมายถึงน. ผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายตามที่มัดไว้, หมี่ ก็เรียก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ