ค้นเจอ 170 รายการ

วัสคณนา

หมายถึง[วัดสะคะนะนา] น. การนับปี. (ป. วสฺส + คณนา).

ศักดินา

หมายถึงน. (โบ) อำนาจปกครองที่นา คิดเป็นจำนวนไร่ต่างกันตามศักดิ์ของแต่ละคน เช่น พระโหราธิบดี เจ้ากรมโหรหน้า มีศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่ ยาจก วรรณิพก ทาษ ลูกทาษ มีศักดินา ๕ ไร่. (สามดวง); (ปาก) คำประชดเรียกชนชั้นสูงหรือผู้ดีมีเงินว่าพวกศักดินา.

สนทนา

หมายถึง[สนทะ-] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).

สืบศาสนา

หมายถึงก. ต่ออายุพระศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป.

เสนา

หมายถึง[เส-นา] น. ไพร่พล. (ป., ส.).

อนุปัสนา

หมายถึง[อะนุปัดสะนา] น. การพิจารณา. (ป. อนุปสฺสนา).

อันนา

หมายถึงน. ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น, กระทงนา ก็เรียก.

กบนา

หมายถึงน. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลายสีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.

กรมนา

หมายถึง[กฺรมมะ-] ดู กรม

ขายตามคำพรรณนา

หมายถึง(กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขายทรัพย์สินตามลักษณะและคุณภาพที่ผู้ขายได้บรรยายไว้อย่างละเอียด.

จตุรงคเสนา

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).

จัตุรงคินีเสนา

หมายถึง[จัดตุรง-] น. จตุรงคินีเสนา, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ