ตัวกรองผลการค้นหา
ตะเภา
หมายถึงน. (๑) เรียกอ้อยพันธุ์ที่ลำโต ปล้องสั้น สีขาว เปราะ ว่า อ้อยตะเภา, อ้อยสำลี ก็เรียก. (๒) ชื่อหมากพันธุ์ต้นเตี้ย.
กระโถนท้องพระโรง
หมายถึงน. กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ที่ท้องพระโรงในศาลาลูกขุนใน สำหรับที่ใคร ๆ บ้วนน้ำหมากหรือทิ้งชานหมากได้; (สำ) ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้หรือผู้ที่ใคร ๆ ก็รุมใช้อยู่คนเดียว.
เนียน
หมายถึงน. กาบหมากที่เจียนให้มนขนาดเท่าฝ่ามือสำหรับตักนํ้าพริกจากครก, เปลือกจั่นมะพร้าวสำหรับแซะนํ้าตาลเมื่อเวลาเคี่ยว, โดยปริยายใช้เรียกที่สำหรับแซะหรือตัดขนม.
สนม
หมายถึง[สะหฺนม] น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนม. (ข. สฺนํ).
สง
หมายถึงก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
คิ้วนาง
หมายถึงน. ชื่อไม้เถาชนิด Bauhinia winitii Craib ในวงศ์ Leguminosae ฝักแบนกว้างและโค้ง ดอกสีขาว รากใช้กินกับหมากต่างสีเสียด, อรพิม ก็เรียก.
เต่าร้าง
หมายถึงน. ชื่อปาล์ม ๒ ชนิดในสกุล Caryota วงศ์ Palmae คือ ชนิด C. mitis Lour. ต้นเป็นกอและชนิด C. urens L. ต้นคล้ายหมาก ผลเป็นทะลาย, เต่ารั้ง หรือ หมากคัน ก็เรียก.
ไหปลาร้า
หมายถึงน. ชื่อไหชนิดหนึ่ง มีขอบรอบปากสำหรับหล่อนํ้าและมีฝาปิด ใช้หมักปลาร้า, หลุมข้างคอถัดกระดูกไหปลาร้าขึ้นไป, เรียกกระดูกทั้งคู่ที่อยู่ต้นคอข้างหน้าว่า กระดูกไหปลาร้า.
สามใบเถา
หมายถึงน. เรียกตลับหรือโถแป้งเป็นต้น ๓ ใบที่มีขนาดใหญ่ กลาง เล็ก รวมเป็นชุดหนึ่ง เช่น ตลับหมากสามใบเถา โถแป้งสามใบเถา, (ปาก) เรียกพี่น้องผู้หญิง ๓ คนเรียงกันว่า สามใบเถา.
ตลับ
หมายถึง[ตะหฺลับ] น. ภาชนะอย่างหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของเช่นขี้ผึ้งสีปากหรือยา โดยมากมีรูปกลม ๆ ขนาดไม่ใหญ่นัก มีฝาปิด. (เทียบมลายู ตลป ว่า กล่องเล็ก ๆ สำหรับใส่หมาก).
ขุม
หมายถึงน. หลุม, ใช้ในบางลักษณะ เช่น ขุมขน ขุมนรก; แหล่งที่เกิดที่เก็บ เช่น ขุมทรัพย์; ลักษณนามใช้เรียกหน่วยที่ต่อรองกันในการพนันคราวหนึ่ง ๆ เช่น ๕ เอา ๑ เป็นหน่วยหนึ่ง เรียกว่า ขุมหนึ่ง.
ตกคลัก
หมายถึงก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่นํ้างวด, ตกปลัก ก็ว่า; ในการเล่นดวดหมายถึงลักษณะที่หมาก ๓ ตัวเดินไปถึงที่สุด มารวมกันอยู่ในตาที่จะสุกจวนจะออกแล้ว แต่ทอดแต้มออกไม่ได้; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คนมารวมกันมาก ๆ ไปไหนไม่ได้.