ตัวกรองผลการค้นหา
ปรัสสบท
หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
โอฆ,โอฆ-,โอฆะ
หมายถึง[โอคะ-] น. ห้วงนํ้า; ในพระพุทธศาสนาหมายถึงกิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์ มี ๔ อย่าง คือ ๑. กาโมฆะ = โอฆะ คือ กาม ๒. ภโวฆะ = โอฆะ คือ ภพ ๓. ทิฏโฐฆะ = โอฆะ คือ ทิฐิ ๔. อวิชโชฆะ = โอฆะ คือ อวิชชา. (ป., ส.).
พร้า
หมายถึง[พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสำหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสำหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สำหรับขุดดินได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.
สุด
หมายถึงก. สิ้น เช่น สุดกระแสความ สุดความ, หมด เช่น รักสุดหัวใจ, จบ เช่น สุดสายรถประจำทาง. ว. ปลายหรือท้าย เช่น สุดแดน สุดแผ่นดิน ในที่สุด, ปลายทางใดทางหนึ่ง เช่น เหนือสุด ขวาสุด บนสุด; อย่างมาก, อย่างยิ่งยวด, เช่น สุดรัก สุดเสียดาย สุดอาลัย, เต็มที่เต็มกำลัง, เช่น สู้จนสุดชีวิต งานนี้เขาทุ่มจนสุดตัว; เกินกว่าจะทำได้ เช่น สุดกลั้น สุดไขว่คว้า สุดทน.
ตะบูน
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล Xylocarpus วงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชายเลนและริมแม่นํ้าที่นํ้าเค็มขึ้นถึง มี ๒ ชนิด คือ ตะบูนขาว หรือ กระบูน (X. granatum Koenig) เปลือกสีนํ้าตาลแกมแดง ผลขนาดส้มโอ และ ตะบูนดำ [X. moluccensis (Lam.) M. Roem.] เปลือกสีนํ้าตาลแกมดำ ผลขนาดส้มเกลี้ยง.
เมี่ยงส้ม
หมายถึงน. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยมะพร้าวขูดคั่ว กวนกับน้ำตาลปึกผสมถั่วลิสงตำพร้อมด้วยหอมแดง ปรุงให้มีรสเค็มหวาน เมื่อได้ที่โรยใบมะกรูดหั่นฝอย กินแกมกับผักกาดหอมหรือใบทองหลาง และผลไม้มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มโอ มะม่วงดิบ มะปรางดิบ.
ห้องแถว
หมายถึงน. อาคารไม้ที่สร้างเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันเป็นแถว, ถ้าก่อด้วยอิฐฉาบปูนหรือคอนกรีตเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันไปเรียกว่า ตึกแถว; (กฎ) อาคารที่พักอาศัยหรืออาคารพาณิชย์ซึ่งปลูกสร้างติดต่อกันเป็นแถวเกิน ๒ ห้อง และประกอบด้วยวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่.
สถูป
หมายถึง[สะถูบ] น. สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นต้น, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ เจดีย์ เป็น สถูปเจดีย์ เช่น เดินเวียนเทียนรอบพระสถูปเจดีย์. (แบบ) สดูป, สตูป. (ป. ถูป; ส. สฺตูป).
ตาก
หมายถึงก. ผึ่งให้แห้ง เช่น ตากผ้า, ปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เช่น ตากแดด ตากฝน; ตรำ, สู้ทน, เช่น เดินตากฝน นอนตากยุง. ว. ห่าง, แบะออก, เช่น ควายเขาตาก คือ ปลายเขาไม่รวมเข้าหากัน; ที่ผึ่งแดดจนแห้ง เช่น ข้าวตาก กล้วยตาก; เรียกหลังคาเรือนที่ชันน้อยว่า หลังคาตาก.
สัปทน
หมายถึง[สับปะทน] น. (โบ) ร่มทำด้วยผ้ามีระบายรอบ คันยาว เป็นเครื่องแสดงยศขุนนางโบราณชั้นสูงกว่าพระยา; ร่มขนาดใหญ่ทำด้วยผ้าหรือแพรสีต่าง ๆ มีระบายรอบ มีด้ามยาว ใช้กั้นนาค ผ้าไตร หรือพระพุทธรูป เป็นต้น.
อาขยาต
หมายถึง[-ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
กสิณ
หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).