ค้นเจอ 190 รายการ

บริหาร

หมายถึง[บอริหาน] ก. ออกกำลัง เช่น บริหารร่างกาย; ปกครอง เช่น บริหารส่วนท้องถิ่น; ดำเนินการ, จัดการ, เช่น บริหารธุรกิจ; กล่าวแก้. น. ดำรัสสั่ง เช่น ราชบริหาร, คำแถลงไข เช่น พระพุทธบริหาร. (ป., ส. ปริหาร).

นามธรรม

หมายถึง[นามมะทำ] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).

กระดักกระเดี้ย

หมายถึงว. ไม่มีแรง, ขยับเขยื้อนไม่ใคร่ได้, เกือบจะหมดกำลังกาย, เช่น เพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ จะลุกจะนั่งก็กระดักกระเดี้ย, ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดักกระเดี้ย.

น้อม

หมายถึงก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็นการแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น น้อมใจเชื่อ.

เข้าเจ้า

หมายถึงก. ทำพิธีให้เจ้ามาสิงในกาย, ตัวผู้ทำพิธีให้เจ้ามาสิงนั้น เรียกว่า “คนทรง”, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าทรง เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง.

เหมือด

หมายถึง[เหฺมือด] น. เครื่องกินกับขนมจีนนํ้าพริก มีหัวปลีซอยเป็นต้น. ว. ใช้ประกอบกับคำ สลบ เป็น สลบเหมือด หมายความว่า สลบไสล, แน่นิ่งไม่ติงกาย.

วิญญาณ

หมายถึงน. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺาน).

กิโมโน

หมายถึงน. เครื่องแต่งกายประจำชาติญี่ปุ่น เป็นเสื้อยาว หลวม แขนกว้าง มีผ้าคาดเอว, โดยปริยายใช้เรียกเสื้อสตรีที่มีลักษณะเช่นนั้น.

ศิลปะประยุกต์

หมายถึงน. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทางศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติ เพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือเป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้น อย่างในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.

ชุดสากล

หมายถึงน. เครื่องแต่งกาย ประกอบด้วยกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ต ผ้าผูกคอ เสื้อนอกคอแบะ ถุงเท้า และรองเท้าหุ้มส้น.

วัฒนธรรม

หมายถึงน. สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา.

เก่น

หมายถึงก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกายเก่นตะเกียกเดิน. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ