ค้นเจอ 218 รายการ

อัประมาณ

หมายถึง[อับปฺระ-] ว. กำหนดจำนวนไม่ได้, จำกัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ; อประมาณ ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาณ).

จุดเยือกแข็ง

หมายถึงน. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดหลอมเหลวของสารเดียวกัน). (อ. freezing point).

ศรมณะ

หมายถึง[สะระมะ-] น. ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญพรต, พระสงฆ์. (ส.; ป. สมณ).

เตียว

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ก. เที่ยว, เดิน, เช่น ธนาก็เต้าเตียวจร. (บุณโณวาท).

จุดหลอมเหลว

หมายถึงน. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดเยือกแข็งของสารเดียวกัน). (อ. melting point).

หูกะพง

หมายถึงน. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก ใช้ผูกตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.

กรภุม

หมายถึง[กอระ-] (โบ) น. กระพุ่ม เช่น สนธยากรภุมบุษปบังคมบำบวงสรณ. (อนิรุทธ์).

ษัณ

หมายถึงว. หก. (ใช้ในคำสมาส เมื่อนำหน้าตัว ณ ม ย). (ส.; ป. ฉ).

สุริยมณฑล

หมายถึงน. ดวงหรือวงตะวัน, สูรยพิมพ์ หรือ สูรยมณฑล ก็ว่า. (ป.; ส. สูรยมณฺฑล).

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

ญาณศาสตร์

หมายถึง[ยานะสาด, ยานนะสาด] น. ตำราพยากรณ์. (ป. าณ + ส. ศาสฺตฺร).

วิจักขณ์,วิจักษณ์

หมายถึงว. ที่รู้แจ้ง, ที่เห็นแจ้ง, ฉลาด, มีสติปัญญา, เชี่ยวชาญ, ชำนาญ. (ป. วิจกฺขณ; ส. วิจกฺษณ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ