ตัวกรองผลการค้นหา
ประวัติศาสตร์
หมายถึง[ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด] น. วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน.
เป้าประสงค์
หมายถึงน. วัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางที่บุคคลพยายามบรรลุถึง เช่น เป้าประสงค์ของวิชานี้เพื่อฝึกทักษะของผู้เรียน.
วิชาการ
หมายถึงน. วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา เช่น บทความวิชาการ สัมมนาวิชาการ การประชุมวิชาการ.
วิทยาศาสตร์
หมายถึงน. ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ.
หมู,หมู,หมู ๆ
หมายถึง(ปาก) ว. ง่าย, สะดวก, เช่น วิชาคำนวณสำหรับเขาแล้วหมูมาก เขาเลือกทำแต่งานหมู ๆ.
เข้าตัว
หมายถึงก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคำที่ปรารถนาจะกระทำหรือพูดให้ร้ายแก่ผู้อื่นแล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว.
ครุศาสตร์
หมายถึง[คะรุสาด] น. วิชาว่าด้วยการสร้างพื้นฐานและความรู้ของการเป็นครู ประกอบด้วยวิชาการศึกษาเป็นต้น.
ภูมิศาสตร์การเมือง
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องเกี่ยวกับการเมืองของรัฐต่าง ๆ ในโลก.
กุมภา
หมายถึง(กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
บรรณารักษศาสตร์
หมายถึง[บันนารักสะสาด, บันนารักสาด] น. วิชาที่ว่าด้วยการบริหารห้องสมุด.
อาเทศ
หมายถึง[-เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
ภูมิศาสตร์กายภาพ
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์.