ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ขาน, ท้อ, ทูล, จรรจา, พร้อง, ภณะ, จำนรรจ์, ภาษ, ว, วทะ, จำนรรจา
ขาน
หมายถึงก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
ท้อ
หมายถึง(กลอน) ก. กล่าว, โต้, เถียง.
ทูล
หมายถึงก. บอก, กล่าว, (ใช้แก่เจ้านาย). (ข.).
จรรจา
หมายถึง[จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
พร้อง
หมายถึง[พฺร้อง] ก. พูด, กล่าว, ร้อง.
ภณะ
หมายถึง[พะ-] (แบบ) ก. กล่าว, พูด, บอก. (ป., ส.).
จำนรรจ์
หมายถึง[-นัน] (กลอน) ก. เจรจา, พูด, กล่าว.
ภาษ
หมายถึง[พาด] ก. พูด, กล่าว, บอก. (ส.; ป. ภาส).
ว
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๗ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น เช่น วัน วา ใช้ควบกล้ำกับพยัญชนะตัวอื่นบางตัว เช่น กว่า ความ และใช้เป็นตัวสะกดในแม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว.
วทะ
หมายถึง[วะ-] น. คำพูด. ก. พูด, กล่าว. (ป.).
จำนรรจา
หมายถึง[-นันจา] (กลอน) ก. เจรจา, พูด, กล่าว.
กล่าว
หมายถึง[กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคำเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คำนี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.